อำนาจหน้าที่

ภารกิจ  บทบาท  และอำนาจหน้าที่
ของโรงเรียนบ้านน้ำพุ  อำเภอคีรีมาศ  จังหวัดสุโขทัย
 
       โรงเรียนบ้านน้ำพุ  อำเภอคีรีมาศ  จังหวัดสุโขทัย  เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีภารกิจ  บทบาท  และอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด  ดังนี้
      1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
           1) พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 
           2) พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 (กรรมการสถานศึกษา) มาตรา 39 (อำนาจหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา) 
           3) กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา                  พ.ศ. 2547 (ออกตาม ม.34 วรรคสี่ ของ พรบ. บริหาร ศธ.) 
           4) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา (ออกตาม ม.39 วรรคสอง พรบ.กศ. แห่งชาติ 2542) 
           5) ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขัั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 (ออกตาม ม.35 พรบ. บริหาร) 
           6) กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 
           7) ระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ
     2. บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 
            1) จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป 
            2) จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ 
            3) พัฒนาหลักสูตร /จัดการเรียนการสอน 
            4) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ 
            5) กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ 
            6) ระดมทรัพยากร ปกครอง ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ 
            7) จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 
            8) ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน สร้างความสัมพันธ์
 
บทบาท หน้าที่ ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
     1. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 
           1) จัดรูปแบบการศึกษา ม.15 
           2) จัดกระบวนการศึกษา ม. 24-30 
           3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ม. 39
           4) เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ม. 40 
           5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ม. 48-50 
           6) ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ ม. 59 
           7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีฯ ม. 65-66
     2. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 
           1) ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ม.6 
           2) เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ 
           3) จัดการศึกษาเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาสในรูปแบบเหมาะสม ม.12
           4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามกฎหมายกำหนด 
     3. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 (ม.39) 
           1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา 
           2) บริหารกิจการสถานศึกษา
           3) ประสานระดมทรัพยากร 
           4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา 
           5) จัดทำรายงานประจำปีต่อ กก.เขตพื้นที่ 
           6) อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร 
           7) อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย 
           8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ(ปฏิบัติราชการแทน) ม.44-45 
                       - ปลัด ศธ. เลขาฯ ถึง ผอ. สถานศึกษา 
                       - ผอ. สำนักฯในกรม ถึง ผอ. สถานศึกษา 
                       - ผอ. สพท. ถึง ผอ. สถานศึกษา 
     4. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎ ศธ. แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา 2546 
           1) วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนสถานศึกษา 
           2) วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ 
           3) เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป 
           4) แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ
     5. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.รบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 
           1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ม.27(1)
           2) พิจารณาความดีความชอบ ม.27(2) 
           3) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร ม.27(3) 
           4) จัดทำมาตรฐานภาระงานครู ม.27(4) 
           5) ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ม.27(5) 
           6) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก.รร.มอบหมาย ม.27(6) 
           7) สั่งให้ครูฯออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ ม.49 
           8) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู บุคลากร ม.53(4)
           9) สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก ม.56 วรรคสอง 
          10) สั่งให้ครูพ้นทดลองทำงานต่อไป ม.56 วรรคสอง 
          11) สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ ม.64 
          12) สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) ม.68 
          13) สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู ม.73 
          14) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ม.75 
          15) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ม.78 
           16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ม.79 
           17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ม.81 
           18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ม.82 
           19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95 98 
            20) อนุญาต ยับยั้งอนุญาตลาออก ม.108 
            21) สั่งแต่งตั้งกก. สอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ ม.110 (4) 
            22) สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่าง ๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ จำคุก 
     6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ที่เป็นนิติบุคคลสังกัด สพท. พ.ศ.2546 กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ 

1) ผู้อำนวยการฯเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
2) นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงาน สพท. แจ้ง สพฐ. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี
3) การบริหารบุคคลตามกฎหมาย พรบ. ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
4) ยุบ รวม เลิกล้ม ร.ร. สพท. ตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตามหลักเกณฑ์ สพฐ. กำหนด 
5) ร.ร.มีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ แต่ จำหน่าย อสังหาริมทรัพย์ กก.รร. ต้องเห็นชอบรายงาน สพท.
6) ร.ร. มีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุตามวงเงิน อำนาจที่เลขา กพฐ. มอบ หรือ ผอ. สพท. มอบตามหลักเกณฑ์ที่ สพฐ. กำหนดยกเว้นเงินเดือน
7) จัดทำระบบการเงิน บัญชี ตาม รบ. สพฐ. กำหนด และทรัพย์สินฯผู้อุทิศทำหลักฐานการรับ บัญชี รับ-จ่ายฯรายงาน ผอ. สพท. ทุกสิ้นปีงบประมาณ ผอ. สพท. ตรวจสอบและรายงานเลขา กพฐ.โดยเร็ว 

     7. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548
- กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของ นักเรียนนักศึกษา 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ.2547 
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ(ฉ.2) พ.ศ.2547
 
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของครู 
     บทบาท  หน้าที่  และความรับผิดชอบของครูเป็นกิจที่ครูต้องทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่งการกระทำของ ครูอาจจะ เป็นไปโดยอาศัยหลักคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย หรือด้วยสำนึก ครูอาจารย์จะต้องปฏิบัติหน้าที่ และมีความรับผิดชอบ ต่อการสอน ถ่ายทอดศิลปวิทยาการทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่ศิษย์ เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์ จะต้องคอบอบรมสั่งสอนให้ศิษย์ ตั้งอยู่ในคุณธรรมความดีต่าง ๆ       ความหมายของบทบาท 
     คำว่าบทบาทเป็นคำที่อาจประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบอยู่ด้วย ได้มีผู้ให้ความหมายและ อธิบายไว้ ดังต่อไปนี้  ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 602) ให้ความหมายของบทบาทเอาไว้ว่า บทบาท คือ การกระทำหน้าที่ที่ กำหนด ไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู เป็นต้น Good (1973 : 502) ได้ให้ความหมายของบทบาท เอาไว้ว่า บทบาท มีความหมาย 2 ประการ คือ 
1. ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละบุคคลในกลุ่มที่กำหนด
2. แบบกระสวนพฤติกรรมหน้าที่ที่คาดหวัง หรือหน้าที่ที่บุคคลต้องกระทำให้บรรลุผลสำเร็จภายใต้ สภาพแวดล้อมที่สังคมกำหนด 
     ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงบทบาทของครู จึงหมายถึง ภาระที่ผู้เป็นครูต้องรับผิดชอบ ซึ่งมีมากมาย เช่น ภาระ ที่ต้อง พัฒนาเยาวชน ภาระที่ต้องพัฒนาสังคม อย่างไรก็ตามคำว่าบทบาทนี ้มักจะใช้ควบคู่กับคำอีก ๒ คำ คือ ความว่าหน้าที่ และคำว่าความรับผิดชอบ หน้าที่ หมายถึง กิจที่ควรกระทำหรือกิจที่ต้องกระทำ ส่วนความ รับผิดชอบนั้นย่อมเป็นผลที่ดี หรือไม่ดีในกิจที่ได้กระทำไป 
กล่าวโดยสรุป บทบาททำให้เกิดภาระ ภาระทำให้เกิดหน้าที่ และหน้าที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบ เมื่อ รวม ความเข้าด้วยกันกลายเป็น บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ หมายถึง กิจที่บุคคลต้องกระทำให้สำเร็จ ตามตามคำสั่ง กฎหมาย หลักศีลธรรมคุณธรรม หรือด้วยจิตสำนึกในความถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง บทบาท หน้าที่ และความ รับผิดชอบของครู จึงหมายถึง กิจที่ผู้เป็นครูจำเป็นต้องกระทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่งอาจเป็นความจำเป็นโดยอาศัย หลักศัลธรรม คุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย หรือด้วยความสำนึกในความ ถูกต้องเหมาะสมก็ได้
     บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของครูตามคำว่า TEACHERS 
     ยนต์ ชุ่มจิต (2553 : 76-83) ได้กล่าวถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของครูตามคำว่า TEACHERS เอาไว้ ดังต่อไปนี้ 
1. T (teaching) การสอน 
หมายความว่า ครูมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการสอนศิษย์ เพื่อให้ศิษย์มีความรู้ความสามารถในวิชาการ ทั้งหลายทั้ง ปวง ซึ่งถือว่าเป็นงานหลักของผู้เป็นครูสอนทุกคน
2. E (ethics) จริยธรรม 
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการอบรม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียน ซึ่ง ถือว่าเป็น หน้าที่หลักอีกประการหนึ่งของความเป็นครู  
3. A (academic) วิชาการ 
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อวิชาการทั้งของตนเองและของนักเรียน ซึ่งความจริงแล้ว งานของครู ต้องเกี่ยวข้องกับวิชาการอยู่ตลอดเวลา เพราะวิชาชีพครูต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบ วิชาชีพ        
4. C (cultural heritage) การสืบทอดวัฒนธรรม   
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการสืบทอดวัฒนธรรม การสอนศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ให้กับลูกศิษย์ นั้นย่อมถือว่าเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง 
5. H (human relationship) การมีมนุษยสัมพันธ์ 
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ที่ครูต้องเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ ด้วย เพราะการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและหมู่คณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประโยชน์ต่อโรงเรียน  
6.  E (evaluation) การประเมินผล 
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการประเมินผลต่อการเรียนของศิษย์ งานของครูในด้านนี้ ถือว่ามี ความสำคัญมากอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัดความ เจริญก้าวหน้าของศิษย์ใน ด้านต่าง ๆ     
7. R (research) การวิจัย 
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยการต้องพยายามหาความรู้ความจริงเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนและแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน     
8. S (service) การบริการ
หมายความว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริการศิษย์และผู้ปกครอง แต่บางครั้งก็มีความ จำเป็นที่ จะต้องให้บริการแก่ประชาชนในท้องถิ่นด้วย แต่โดยธรรมชาติแล้วงานบริการหลักของครูคือบริการให้ ความรู้เพื่อ สร้างความเจริญงอกงามให้แก่นักเรียน สำหรับครูนั้น นอกจากให้บริการนักเรียนแล้ว บางครั้งครูยัง ต้องให้บริการด้าน คำปรึกษาหารือในด้านสุขภาพอนามัยแก่ชุมชน รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาให้แก่ชุมชนรอบ ๆ โรงเรียนอีกด้วย

บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของครูตามหลักพระพุทธศาสนา 
พระราชวรมุนี [ป.อ. ปยุตฺโต] (๒๕๒๘ : ๕๓,๕๕,๕๗) ได้กล่าวถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของครูตาม หลักพระพุทธศาสนาเอาไว้ว่า บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของครูตามหลัก พระพุทธศาสนาโดยยึดหลักทิศ ๖ เป็นหลัก ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
     1. หน้าที่ของครูอาจารย์ที่พึงกระทำต่อศิษย์ 
1.1 ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี 
1.2 สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง 
1.3 สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง 
1.4 ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ 
1.5 สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ 
     2. หน้าที่ของศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 
2.1 ลุกขึ้นต้อนรับเมื่อครูอาจารย์เข้ามาหา 
2.2 เข้าไปหาเพื่อบำรุง คอยรับใช้ ขอคำปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ  
2.3 ใฝ่ใจเรียน มีใจรักและศรัทธาในการเรียน 
2.4 ปรนนิบัติรับใช้ ช่วยบริการ 
2.5 เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
      สรุป บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครู เป็นกิจที่ครูต้องทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ครูอาจารย์ จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการสอน การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ต้องปฏิบัติงานวิชาการ มีการ สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลต่าง ๆ ประเมินผลการเรียนการสอน ทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอน และ บริการสังคม ครูตามหลักทาง พระพุทธศาสนามี 2 ด้านใหญ่ๆ ที่ต้องปฏิบัติ คือ ประการแรก ต้องทำหน้าที่ เป็นสิปปทายก คือเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ศิษย์ ประการที่สอง ครูทำ หน้าที่เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์ คือต้องคอยอบรมสั่ง สอนตักเตือนให้ศิษย์ตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี ต่างๆ รู้คุณ รู้โทษ 
 
บทบาทหน้าที่ของครูในศตวรรษที่ 21 
1. เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) 
2. ครูเป็นผู้แนะแนวทาง (guide/coach) 
3. ครูเป็นผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา (co-learner/co-investigator) 
 
บทบาทหน้าที่ของครู 
     บทบาทของครูยุคใหม่ คือการทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนให้พัฒนาตนเองให้ได้เต็ม ศักยภาพ และ ส่งเสริมให้ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะเทคโนโลยีในทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและ ล้ำสมัย ผู้คนใน ยุคใหม่จึงต้องเรียนรู้ สิ่งใหม่ตลอดเวลา ดังนั้นครูต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและคอย แนะนำแนวทางการ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็ก อย่างเข้าใจ และพร้อมที่จะทุ่มเทวิชาความรู้ด้วยวิธีการ สมัยใหม่ตามธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม แม้ เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถของครูยุคใหม่ อาจจะไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แต่สิ่งที่ครูสามารถที่จะบอกนักเรียนได้ว่าข้อมูลใด สามารถ นำไปปรับใช้กับชีวิตจริง แต่สิ่งที่สำคัญ ที่จะหาไม่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่คือ ศีลธรรม คุณธรรม ที่ ครูสอนถ่ายทอดให้เด็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญอันจะถูกพัฒนาไปพร้อมกับสติปัญญาเพื่อให้ความรู้แก่อนาคตของชาติ อย่างถูกต้องสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป ครูมุ่งมั่น ในศตวรรษที่ 21 ที่นำมา แบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ
1. ครูเป็นโค้ช
2. เน้นตั้งคำถาม-ถามตอบ
3. ไม่ต้องอายที่จะบอกว่า “ไม่รู้”
4. สร้างแรงบรรดาลใจให้นักเรียน
5. ให้ feedback กับนักเรียน
6. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
     ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่ มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
* ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
* การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
* การสื่อสารและการร่วมมือ
     ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง สื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
* ความรู้ด้านสารสนเทศ
* ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
     ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียน จะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
* ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
* การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
* ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
* การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
* ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)สำคัญดังต่อไปนี้
* ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
* การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
* ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
* การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) * ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
 
Adobe Acrobat Document ภารกิจ บทบาท และอำนาจหน้าที่ ของโรงเรียนบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย  |  ดาวน์โหลดไฟล์