แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีการศึกษา 2567
โรงเรียนบ้านน้ำพุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

โรงเรียนบ้านน้ำพุ ได้ดำเนินงานตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ดังนี้
จัดระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้เอื้อต่อการบริหารงานบุคคล เป็นแบบอย่างที่
ดี เป็นผู้นำ และมีระบบการบริหารจัดการที่ดี โดย
๑. ประกาศปฏิญญา อันประกอบด้วยคำมั่นสัญญาและเจตจำนงในการบริหารสถานศึกษา คือ
๑.๑ ด้วยเกียรติของข้า: ข้าของสัญญาว่า
ข้อ ๑ ข้าจะบริหารจัดการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดผลประโยชน์ของนักเรียน ครู บุคคลกรทางการศึกษา
ประชาชน และประเทศชาติ เป็นสำคัญ มุ่งสร้างเสริมความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติราชการ
ข้อ ๒ ข้าจะจัดระบบบริหารจัดการให้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้รับ
บริการเป็นสำคัญ
ข้อ ๓ ข้าจะจัดระบบบริหารจัดการเงินและงบประมาณให้ถูกต้อง โปร่งใส คุ้มค่า ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ
ข้อ ๔ ข้าจะจัดระบบบริหารงานบุคคลให้เกิดความเสมอภาค เท่าเทียม เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
ข้อ ๕ ข้าจะมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นโดยส่งเสริม ความเข้มแข็งของโรงเรียนและครูใน
การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่ใช้โรงเรียนและห้องเรียนเป็นฐานในการพัฒนา
๑.๒ เจตจำนงสู่การปฏิบัติ
ข้อ ๑ จะปฏิบัติตนให้เป็นผู้ตรงต่อเวลา
ข้อ ๒ จะปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และวินัย
ข้อ ๓ จะเป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์
ข้อ ๔ จะยึดมั่นในหน้าที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๕ จะมุ่งมั่นในการบริหารที่ดี

๒. กำหนดนโยบายโรงเรียนบ้านแม่นะ ซึ่งใช้เป็น วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาเขตพื้นที่การศึกษาอันประกอบด้วย
๒.๑ วิสัยทัศน์
มุ่งการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีความรู้คู่คุณธรรมภายใต้หลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๒ กรอบแนวคิดการพัฒนา
          ใช้โมเดลการพัฒนารูปแบบการพัฒนามาตรฐานแบบบูรณาการ (Integration Standard)
 

๒.๓ แนวทางการพัฒนา
๒.๓.๑ พัฒนาระบบบริหารการจัดการศึกษาตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี โดยการมีส่วนรวม และปรับระบบ
บริหารสู่โรงเรียน คืนครูสู่ห้องเรียน ลดงานธุรการและศึกษานิเทศก์ร่วมทำในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับสถานศึกษาและห้องเรียน รวมทั้งมอบหมายความรับผิดชอบสู่ระดับงานตามภารกิจ ระดับพื้นที่และระดับนโยบาย
๒.๓.๒ จัดระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านแม่นะ
๒.๓.๓ ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรและคุณภาพครู บุคคลกรทางการศึกษาและคุณภาพ ผู้เรียนโดยปลูกฝังค่านิยมร่วมที่เข้แข็ง อันประกอบด้วย การตรงต่อเวลา เคารพกฎหมาย ระเบียบและวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบและการบริการที่ดี
๒.๓.๔ เสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตโดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความ โปร่งใสในการดำเนินงานภาครัฐ (ITA)
เป็นเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์สุจริต
๒.๓.๕ จัดทำและทบทวนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาของกระทรวง
ศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการศึกษาของภาคการศึกษาและจังหวัดตามบริบทความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้เป้าหมายเชิง ยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี เป็นเป้าหมายความสำเร็จที่สำคัญ
๒.๓.๖ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยหลักวิชาการ ความคิด
ริเริ่ม นวัตกรรม การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ตลอดจนการวิจัยมาใช้กำหนดโครงการ/กิจกรรมการดำเนินงานและบูรณาการกับมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา นโยบายและ ITA
๒.๓.๗ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อยกระดับผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียนที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความเข้ม
แข็งการจัดการศึกษาของโรงเรียน และความเข้มแข็งในการจัดการเรียนรู้ ของครู
๒.๓.๘ นำนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสู่การปฏิบัติ โดยวิเคราะห์ความสำคัญ ประกาศกำหนดนโยบายจัดทำแผนงาน โครงการสู่การปฏิบัติตลอดจนนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและรายงานการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
๒.๓.๙ ประยุกต์ใช้หลักการบริหารคุณภาพองค์กร (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผน
(Do) การติดตาม ตรวจสอบและนิเทศ (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Act) มาใช้พัฒนาคุณภาพการบริหารและการดำเนินการทุกระดับ ทั้งระดับสำนักงาน ระดับกลุ่ม ระดับงาน และ ระดับโครงการ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ
๒.๓.๑๐ จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศ การดำเนินงานในทุก ระดับทั้ง ระดับโรงเรียน ระดับห้องเรียน
ระดับกลุ่ม ระดับบุคคล และระดับ โครงการ/กิจกรรมการดำเนินงาน และจัดให้มีการเรียนรู้ ปรับปรุงการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงาน
๒.๓.๑๑ ศึกษา เรียนรู้และนำศาสตร์พระราชาเป็นพลังขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเฉพาะหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่
กับการนำนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มาใช้ในการ บริหารจัดการศึกษาการเรียนรู้และการบริการ
๒.๔ เป้าหมายความสำเร็จ
๒.๔.๑ โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการจัดการศึกษา โดย
๑) มีคะแนนผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา โดยไม่รวมไม่ต่ำกว่าระดับ ดีมาก
๒) มีคะแนนผลการทดสอบ O-Net หรือ NT ของนักเรียนในความรับผิดชอบไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๓
๒.๔.๒ ครูมีความเข้มแข็งในการจัดการเรียนรู้ โดย
๑) มีคะแนนผลการทดสอบ O-Net หรือ NT ของนักเรียนในความรับผิดชอบไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓
๒) นักเรียนในความรับผิดชอบผ่านเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓
๒.๔.๔ ประชาชนและผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารและ การจัดการศึกษาของสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษา ของกลุ่ม และของโรงเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๕
๒.๔.๕ ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
๓. กำหนดแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ราชการและลูกจ้างในสถานศึกษา อันประกอบด้วย
๓.๑ ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดผลประโยชน์ของนักเรียน ครู บุคคลกรทางการศึกษา
ประชาชน และประเทศเป็นสำคัญ
๓.๒ ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ยึดผลประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้องโดยมิชอบ
๓.๓ จัดระบบและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้รับ
บริการเป็นสำคัญ
๓.๔ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยความรัก ความเมตตา ส่งเสริมบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตรใน
โรงเรียนและห้องเรียน
๓.๕ มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้นอย่างรอบด้าน
๓.๖ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเป็นแบบอย่างที่ดีเกี่ยวกับการตรงต่อเวลา เคารพกฎหมาย ระเบียบและวินัย ความซื่อสัตย์
สุจริต ความรับผิดชอบและบริการที่ดี
๓.๗ ปฏิบัติหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการเงินและงบประมาณให้ถูกต้อง โปร่งใส คุ้มค่า มีประสิทธิภาพตรวจสอบได้ และไม
แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
๓.๘ ปฏิบัติหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติและไม่
แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
๓.๙ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้ ค วาม สำคัญกับการนำนโยบายของรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
๓.๑๐ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนิน
งานตามแผน (Do) การติดตาม ตรวจสอบและนิเทศ (Check) และการปรับปรุง แก้ไข (Act) งานในหน้าที่รับผิดชอบ
๓.๑๑ จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ระดับห้องเรียน
ระดับโรงเรียน ตลอดจนระดับโครงการและกิจกรรมการดำเนิน พร้อมทั้งจัดให้มีการเรียนรู้ปรับปรุงการดำเนินงาน
๓.๑๒ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยศึกษาเรียนรู้ และนำศาสตร์ของพระราชาเป็นพลัง ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเฉพาะ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับการนำนวัตกรรมและ เทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน
๓.๑๓ ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความมุ่งมั่น เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในระดับดีเด่นเป็นพิเศษในเรื่องต่อไปนี้ คือ ยกระดับการ
ศึกษาของผู้เรียน ยกระดับผลสอบ O-NET หรือ NT การประกันคุณภาพการศึกษาการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้น ความพึงพอใจของประชาชนและผู้รับบริการตลอดจนผลสำเร็จตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประชาชน และประเทศ